หน้าผาทางการคลังคืออะไร (Fiscal cliff) ?
สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญในระยะนี้และคาดว่าน่าจะต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี คือ ความกังวลที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะตก "หน้าผาทางการคลัง" (Fiscal cliff) คำถามก็คือ อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าหน้าผาทางการคลัง และเหตุใดจึงกลายเป็นประเด็นที่ผู้คนทั่วโลกต้องจับตามอง
หน้าผาทางการคลัง คือ การที่เศรษฐกิจของประเทศสูญเสียแรงขับเคลื่อนทางการคลังอย่างฉับพลันและรุนแรง เนื่องจากมาตรการด้านการคลังชั่วคราวที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในยามที่เกิดวิกฤตินั้นสิ้นสุดลง ยิ่งมาตรการนั้นๆ มีขนาดใหญ่มากเท่าไร เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของมาตรการก็จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจสูญเสียแรงส่งมากขึ้นเท่านั้น และนั่นหมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจถูกฉุดให้ลดต่ำลงหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเศรษฐกิจถดถอยก็เป็นได้ ดังนั้นเหตุการณ์เช่นนี้จึงเปรียบเสมือนกับว่าเศรษฐกิจ "ตกหน้าผาทางการคลัง"
หน้าผาทางการคลังของสหรัฐฯ สูงขนาดไหน ?
ปัจจุบันสหรัฐฯ มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ค่อนข้างสูงถึงราว 100% ของ GDP และมีการขาดดุลงบประมาณสูงถึงราว 9.5% ของ GDP ในปี 2011 ทำให้สหรัฐฯ ต้องเข้าสู่กระบวนการตัดงบประมาณอัตโนมัติ หรือที่เรียกกันว่า "Sequestration" ซึ่งเป็นการลดรายจ่ายทางด้านการคลังของสหรัฐฯ ลงปีละราว 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยการตัดลดรายจ่ายนี้กำลังจะเริ่มต้นในปี 2013
นอกจากนี้ภายในสิ้นปี 2012 ยังมีมาตรการกระตุ้นทางการคลังชั่วคราวอีกจำนวนมากที่กำลังจะสิ้นสุดระยะเวลา โดยส่วนที่น่ากังวลมากที่สุดคือการสิ้นสุดระยะเวลาการตัดลดภาษีเงินได้ (Payroll-tax cut) ซึ่งเริ่มมีขึ้นในสมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อปี 2001 และปี 2003 การสิ้นสุดมาตรการดังกล่าวทำให้รัฐบาลต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากประชาชนในปี 2013 รวมทั้งสิ้นราว 180 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีมาตรการชั่วคราวอื่นๆ อย่างเช่น การให้เครดิตภาษีการลงทุน (Investment tax credit) และการเพิ่มเงินสวัสดิการสำหรับผู้ว่างงาน (Jobless benefits) ที่กำลังจะสิ้นสุดระยะเวลาพร้อมกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2012 นี้เช่นเดียวกัน หลังจากที่เคยได้ขยายระยะเวลาสิ้นสุดมาตรการมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2010
ทั้งนี้เมื่อคำนวณผลรวมของภาษีและการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ลดลงไป ทำให้ตัวเลขการขาดดุลการคลังของรัฐบาลระหว่างปีงบประมาณ 2012 และปี 2013 ลดลงราว 607 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4% ของ GDP1 ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเลขประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2013 นั้นอยู่ที่เพียงราว 2.2% ทำให้หลายฝ่ายกังวลกันว่า "การตกหน้าผาทางการคลัง" ครั้งนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนถึงขั้นทำให้เศรษฐกิจถดถอยได้
สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้คืออะไร และจะเกิดอะไรขึ้นหากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ทัน?
เนื่องจากวันสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชั่วคราวอยู่หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ แค่เพียงไม่ถึง 2 เดือน จึงมีโอกาสที่รัฐบาลที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งจะไม่สามารถดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงการตกหน้าผาทางการคลังได้ทันเวลา กล่าวคือ สภา Congress อาจไม่สามารถเลื่อนหรือขยายเวลาบางมาตรการออกไปได้ทันภายในเวลา 2 เดือน หรืออาจไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการปล่อยให้ภาคการคลังหดตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรงในช่วงต้นปี 2013 ซึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาสภา Congress ได้เคยล้มเหลวในการตกลงการลดการใช้จ่ายและเพิ่มเพดานหนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ทำให้มีโอกาสที่ครั้งนี้จะประสบความล้มเหลวซ้ำรอยอีกครั้ง นอกจากนี้นโยบายของทั้ง 2 พรรคการเมือง (Democrat และ Republican) ในเรื่องการคลังยังมีความแตกต่างกันมาก ทำให้จนถึงบัดนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าสหรัฐฯ จะมีวิธีการรับมือกับปัญหาที่รออยู่ข้างหน้าอย่างไร
ถ้าหากรัฐบาลไม่สามารถนำพาเศรษฐกิจของประเทศหนีจากการตกหน้าผาทางการคลังได้ทัน อาจมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือด้วยการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแรงส่งให้แก่เศรษฐกิจ อย่างเช่นมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) อย่างไรก็ดี นโยบายการเงินคงไม่สามารถชดเชยการหดตัวทางการคลังในครั้งนี้ได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ การใช้จ่ายในประเทศ (Domestic demand) จะลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริโภคภาคเอกชน เนื่องจากภาษีเงินได้ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การใช้จ่ายภาครัฐก็ลดลงตามโปรแกรม Sequestration ด้วยเช่นกัน
ผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างไร?
ไม่ว่าผลสุดท้ายแล้วสหรัฐฯ จะสามารถหลีกเลี่ยงการตกหน้าผาทางการคลังได้หรือไม่ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า เพราะหากพิจารณากรณีที่รัฐบาลสามารถขยายระยะเวลามาตรการลดภาษี หรือตัดค่าใช้จ่ายออกไปได้อีกครั้ง อาจจะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงได้ เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูงและไม่ได้ลดลง ซึ่งการลดอันดับความน่าเชื่อถืออาจทำให้เงินไหลออกจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ไปยังประเทศอื่นที่มีอันดับความน่าเชื่อถือดีกว่าได้ และนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง
ในทางกลับกัน หากสหรัฐฯ ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการหลีกเลี่ยงหน้าผาทางการคลังได้ จะเป็นความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย และมีโอกาสที่เฟดจะใช้มาตรการ QE3 มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งย่อมส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนลงและส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคอื่นแข็งขึ้น รวมถึงเอเชีย และค่าเงินบาท
ระหว่างการรอลุ้นผลสรุปว่าสหรัฐฯ จะมีวิธีการจัดการกับหน้าผาทางการคลังนี้อย่างไร ตลาดการเงินอาจมีความผันผวนเป็นระยะจากความกังวล เช่นเดียวกับความกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตลาดการเงินโลกรวมถึงประเทศไทยผันผวนมากในช่วงครึ่งปีแรก และถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแรง หรือถดถอยจริงก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยผ่านการส่งออก ความเชื่อมั่นการบริโภค และการลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
*****************************
Fiscal Cliff … หน้าผาทางการคลัง คืออะไร
ในช่วงปีที่ผ่านมา มีคำศัพท์ หรือตัวย่อทางด้านเศรษฐกิจถูกกล่าวขึ้นมาพูดถึงเพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น QE (Quantitative Easing - การผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน) LTRO (Long Term Refinance Operations – การปล่อยกู้ระยะยาวแก่ธนาคารในสหภาพยุโรปเพื่อเสริมสภาพคล่อง) Troika (กลุ่มผู้ดูแลการแก้ไขปัญหาหนี้ของกรีซ ประกอบด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ - IMF, ธนาคารกลางยุโรป – ECB และคณะกรรมาธิการยุโรป - EC) เป็นต้น และคำศัพท์คำหนึ่งที่มีการพูดถึงกันบ่อยมากขึ้น ในช่วงไม่นานมานี้ คือคำว่า Fiscal Cliff
คำว่า Fiscal Cliff หรือแปลเป็นไทยตรงตัวว่า “หน้าผาทางการคลัง” เป็นคำที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เบน เบอร์นันเก้ ใช้เรียกสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีเหตุการณ์สำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างมีนัยสำคัญ โดยเหตุการณ์ที่สำคัญ 2 เหตุการณ์ได้แก่ การสิ้นสุดของมาตรการลดหย่อนภาษีหลายๆมาตรการ และการเริ่มต้นของมาตรการการปรับลดงบประมาณของภาครัฐฯ
ในส่วนของมาตรการลดหย่อนภาษีนั้น ในสิ้นปีนี้ จะมีมาตรการลดหย่อนภาษีหลายมาตรการสิ้นอายุลง โดยมาตรการภาษีที่สำคัญที่สุด คือมาตรการการปรับลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งได้บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2546 ในสมัยประธานาธิบดีจอร์ช บุช เพื่อปรับลดอัตราภาษีที่บุคคลธรรมดาจะต้องเสียลง ทำให้ประชาชนมีรายได้คงเหลือเพิ่มขึ้น และช่วยให้เกิดการใช้จ่าย และการบริโภคในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น
นอกเหนือจากมาตรการภาษีแล้ว ยังมีมาตรการทางด้านการปรับลดงบประมาณรายจ่าย หรือการขาดดุลของภาครัฐบาลอีกด้วย เนื่องจากในปีที่ผ่านมา สหรัฐฯประสบกับปัญหาภาระหนี้ชนเพดานหนี้ (วงเงินสูงสุดที่รัฐบาลจะกู้ได้) ทำให้ต้องมีการปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มเติม โดยเงื่อนไขหนึ่งที่ต้องทำเพื่อการปรับเพิ่มเพดานดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯจะต้องมีการดำเนินการปรับลดรายจ่ายของภาครัฐลงมาด้วย และหากไม่สามารถทำได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ ก็จะมีการปรับลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐแบบอัตโนมัติ
(Sequestration) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 มกราคม 2556 นี้
(Sequestration) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 มกราคม 2556 นี้
ผลจากมาตรการ 2 มาตรการ ทั้งการสิ้นสุดการปรับลดภาษี ประกอบกับการตัดลดงบประมาณด้านรายจ่ายของภาครัฐฯ แม้ว่าจะทำให้รายได้ของรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นกว่า 6 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ แต่ก็จะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังคงอยู่ในภาวะเปราะบางเป็นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะในส่วนของมาตรการภาษี หากสิ้นสุดลง ก็จะทำให้ประชาชนต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น และมีเงินคงเหลือเพื่อใช้จ่ายน้อยลง ในขณะมาตรการด้านงบประมาณที่จะต้องปรับลดลงมา ก็จะทำให้รัฐบาลนำเงินออกมาใช้จ่ายเพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจน้อยลง ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ทั้งสองอย่างนี้เลย ก็มีสิทธิที่เศรษฐกิจจะหยุดชะงัก หรือหดตัวลงรุนแรง หรือเปรียบเสมือนกับการตกหน้าผานั่นเอง
กระตุ้นเศรษฐกิจน้อยลง ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ทั้งสองอย่างนี้เลย ก็มีสิทธิที่เศรษฐกิจจะหยุดชะงัก หรือหดตัวลงรุนแรง หรือเปรียบเสมือนกับการตกหน้าผานั่นเอง
ทั้งนี้ ได้คาดการณ์กันว่า หากเกิด Fiscal Cliff ขึ้นมาเต็มจำนวนทั้ง 6 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในปีหน้า หดตัวลงถึง 1.00% และจะทำให้อัตราการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับ 10% จากระดับปัจจุบันที่ 8.30% แต่หากปัญหา Fiscal Cliff ไม่ได้เกิดขึ้นเต็มจำนวนอย่างที่คาดไว้ ความรุนแรงก็จะลดน้อยลงมาตามลำดับ แต่ก็จะมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจแน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตารางแสดงสมมติฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯจากผลกระทบของ Fiscal Cliff
สมมติฐาน
|
การเติบโตของ GDP ในปี 2556
(ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ
1.50% - 2.00% ต่อปี)
|
อัตราการว่างงาน
|
กรณีไม่มี Fiscal Cliff
|
2.50%
|
8.60%
|
กรณี Fiscal Cliff 25%
|
1.70%
|
9.00%
|
กรณีตัดแค่ค่าใช้จ่ายภาครัฐ
|
1.50%
|
9.00%
|
กรณี Fiscal Cliff 50%
|
0.80%
|
9.30%
|
กรณีไม่ต่ออายุแค่มาตรการภาษี
|
0.60%
|
9.40%
|
กรณี Fiscal Cliff 75%
|
-0.10%
|
9.70%
|
กรณี Fiscal Cliff 100%
|
-1.00%
|
10.10%
|
ที่มา: Royal Bank of Scotland
คำถามที่เกิดขึ้นคือ รัฐบาลสหรัฐฯได้รับรู้ปัญหาดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่จะมีการดำเนินอย่างไร เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศต้องมาตกหน้าผาอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งยังไม่มีคำตอบออกมาที่ชัดเจน ในขณะที่สถานการณ์ดังกล่าวใกล้เข้ามาถึงแล้ว เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ทำให้ทั้งฝ่ายประธานาธิบดีปัจจุบัน บารัค โอบามา จากพรรคเดโมแครท และฝ่ายผู้ท้าชิง มิทท์ รอมนีย์จากพรรครีพับลิกัน ต่างก็คุมเชิงกันทางด้านนโยบาย ยังไม่ได้มีการออกมาตรการ หรือนโยบายใดๆที่เป็นรูปธรรม เช่น จะมีการต่ออายุมาตรการการลดหย่อนภาษีหรือไม่ หรือการปรับลดมาตรการการใช้จ่ายของภาครัฐ จะดำเนินไปในด้านใด เพราะอาจจะส่งผลต่อคะแนนความนิยมในการเลือกตั้งได้ ทำให้เกิดความเสี่ยงทางด้านนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจในอนาคต นอกจากนี้ นโยบายของผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐฯทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีความแตกต่างกันด้วย โดยในส่วนของประธานาธิบดีโอบามา ยังคงสนับสนุนการต่ออายุมาตรการลดหย่อนภาษีเฉพาะผู้มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ในขณะที่ทางผู้ท้าชิง ก็ยังชูนโยบายการปรับลดงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งทำให้อนาคตเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังคงมีความไม่แน่นอนทางนโยบายอยู่สูง อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ล่าสุดในเรื่องของทางด้านมาตรการภาษี ทางสภาผู้แทนราษฎร(สภาล่าง) ได้มีมาตรการอนุมัติต่ออายุการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 250,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างการส่งต่อให้กับสภาสูง (สภาคองเกรส) ทำการอนุมัติ เพื่อประกาศใช้ต่อไป จึงทำให้ความเสี่ยง และความกังวลในเรื่องของ Fiscal Cliff เริ่มคลี่คลายลงไปบ้าง แต่ก็ยังไม่หมดสิ้นไปเสียทีเดียว นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จากสำนักต่างๆ ต่างก็ได้คาดการณ์ว่าในท้ายที่สุด รัฐบาลสหรัฐฯ ก็คงจะต้องทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้เกิดภาวะการตกหน้าผาทางเศรษฐกิจ เพราะจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างมหาศาล และอาจจะเป็นการจุดชนวนเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ต่อจากปัญหาหนี้ในยุโรป แต่เนื่องจากยังคงอยู่ในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง และเป็นช่วงที่จะมีการช่วงชิงคะแนนเสียงระหว่างสองพรรครัฐบาล จึงเชื่อได้ว่ามาตรการใดๆที่จะดำเนินออกมาในช่วงนี้ แม้ว่าท้ายที่สุดแล้วจะผ่านไปได้ แต่ก็จะผ่านได้แบบหวุดหวิด หรือในนาทีสุดท้าย เช่นเดียวกับในครั้งที่มีการปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการดึงเวลาให้ล่าช้า เป็นเกมทางการเมืองไปนานกว่าจะอนุมัติให้ผ่านกันไปได้ และจะทำให้ความผันผวนใน
การลงทุนกลับมาอีกครั้ง ดังนั้น ในช่วงนี้จนถึงปลายปี กว่าที่จะมีความชัดเจนทางมาตรการด้านการคลังของสหรัฐฯ นักลงทุนอาจจะต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มเติม เนื่องจากจะมีความผันผวนมากขึ้นตามข่าวสาร ที่จะมีการพูดถึง Fiscal Cliff มากขึ้นเรื่อยๆ
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและหนังสือชี้ชวนก่อนการตัดสินใจลงทุน
- ทัศนะและความคิดเห็นใดๆที่ปรากฏในบทความนี้ เป็นการแสดงทัศนะความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น มิได้มาจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
- ทัศนะและความคิดเห็นใดๆที่ปรากฏในบทความนี้ เป็นการแสดงทัศนะความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น มิได้มาจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
- ข้อมูล ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2555 โดย อาทิตย์ ทองเจริญ ผู้บริหารงานจัดหาผลิตภัณฑ์พิเศษ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด
*****************************
ในช่วงที่ผ่านมา เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายๆท่านน่าจะเคยได้ยินกระแสข่าวที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “หน้าผาทางการคลัง” หรือ Fiscal Cliff ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันในขณะนี้ค่ะ และในวันนี้เราจะมาดูกันว่า Fiscal Cliff ที่ว่านี้คืออะไร และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ หรือการลงทุนในตลาดเงินตลาดทุนอย่างไรบ้างค่ะ
Fiscal Cliff หรือ หน้าผาทางการคลัง เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในขณะนี้ค่ะ หลังจากที่มาตรการที่เคยใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังจะสิ้นสุดลง และรัฐบาลยังไม่มีมาตรการใหม่ๆ ออกมารองรับ โดยมาตรการที่กำลังจะหมดอายุลงนั้น ประกอบไปด้วย (1) มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ทั่วไปสำหับคู่สมรสให้น้อยลง (2) มาตรการยกเลิกภาษีมรดก และ (3) มาตรการผ่อนปรนภาษี 2% ที่เก็บจากรายได้ของผู้ที่มีเงินเดือน (Payroll - tax cut ) ซึ่งมาตรการภาษีทั้ง 3 อย่างนี้ถูกนำมาใช้ในสมัยการเลือกตั้งของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช (ปี 2544 และ 2546) และกำลังจะหมดอายุลงในปี 2556 ที่จะถึงนี้ ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มีทีท่าว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะมีมาตรการใดใหม่ๆ ออกมาเพื่อทดแทนมาตรการเหล่านี้ด้วยค่ะ
ในขณะที่มาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้ง 3 มาตรการกำลังจะหมดอายุลง แต่ในวันที่ 2 มกราคม 2556 นี้ สหรัฐฯ กำลังจะเริ่มบังคับใช้มาตรการใหม่ หรือ (4) มาตรการปรับลดงบประมาณภาครัฐ (Sequestration) ที่จะลดงบประมาณของตนเองลงประมาณ 8.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2556 (Sequestration คือ มาตรการระยะยาวเพื่อลดรายจ่ายทางด้านการคลังลงประมาณ 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลา 10 ปี โดยงบประมาณที่ถูกปรับลดราวครึ่งหนึ่งเป็นงบประมาณด้านกลาโหม) นอกจากนี้แล้ว (5) มาตรการลดสวัสดิการแก่ผู้ว่างงาน ที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถลดรายจ่ายลงได้ถึง 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ก็กำลังจะหมดอายุลงในปี 2556 นี้ด้วยค่ะ ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า หลังจากมาตรการภาษีเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจบลงแล้ว แต่สหรัฐฯ กำลังจะตัดลดงบประมาณของตัวเองลง พร้อมๆกับต้องแบกรับภาระด้านสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นไปด้วยพร้อมๆกัน สถานการณ์เช่นนี้จะมีผลทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เดินไปในทิศทางใดนั่นเอง
โดยหลายฝ่ายคาดว่า Fiscal Cliff ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก รวมถึงจะมีผลทำให้อัตราการจ้างงานในประเทศสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงอีกด้วย ซึ่งเปรียบเสมือนกับการตกจากหน้าผา หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ การเข้าสู่ภาวะหดตัวทางการคลังนั่นเองค่ะ ซึ่งนักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์ว่าหากเกิด Fiscal Cliff ขึ้น จะมีผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2556 อยู่ที่ระดับ 2.2% หรือขยายตัวได้ต่ำกว่าระดับปัจจุบัน 1 % ในขณะที่อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 10% จากระดับปัจุบันที่ 8.3% นอกจากนี้แล้ว หากสหรัฐฯ ไม่มีการต่ออายุมาตรการภาษีออกไป จะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน (Consumption) ลดลง เนื่องจากประชาชนต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น และยังจะมีผลทำให้ปริมาณเงินที่เคยหมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน(ประมาณ 1.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หายไปอีกด้วย สถานการณ์เช่นนี้ อาจทำให้สหรัฐฯ ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง และอาจส่งผลให้มีเงินไหลออกจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รวมไปถึงสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ แล้วไหลเข้าสู่ประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือดีกว่า (ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า)
ทั้งนี้ อุปสรรคในการแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff หลักๆแล้วเกิดจากเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากสหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วงระยะเวลาของการเลือกตั้งใหม่ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2555 นี้ สูญญากาศทางการเมืองในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง จะส่งผลทำให้การตัดสินใจใช้นโยบายต่างๆ เป็นไปอย่างล่าช้า และในท้ายที่สุดแล้ว สภาคองเกรสอาจไม่สามารถดำเนินมาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงการตกหน้าผานี้ได้ทันเวลาหลังจากการเลือกตั้งเพียง 2 เดือน อีกทั้งพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรค (เดโมแครต และรีพับบลิกัน) ต่างก็มีนโยบายทางการคลังที่แตกต่างกัน ดังนั้นในขณะนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงมาตรการรองรับที่จะออกมา และด้วยสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เราจึงได้ยินกระแสข่าวเกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่อาจจะยื่นมือเข้าช่วยเหลือด้วยการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม เช่น การใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งที่ 3 หรือ Quantitative Easing: QE3 ที่คาดกว่าจะถูกนำมาใช้ในช่วงกลางเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทยนั้น ในเบื้องต้นคาดว่าอาจมีผลทำให้การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ ชะลอตัวลง ดังนั้นผู้ประกอบการส่งออกของไทยควรเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ในขณะที่การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศไทย คาดว่าอาจจะมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดการเงินของไทยมากขึ้นทั้งในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตร ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และสุดท้ายอาจเป็นผลเสียต่อภาคการส่งออกของไทยได้ อย่างไรก็ตาม เราคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปค่ะ ว่าสหรัฐฯ จะมีมาตรการใดๆ ออกมาแก้ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อทั้งการลงทุน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน
***************************
หน้าผาทางการคลัง หรือ Fiscal Cliff คืออะไรกัน ?
Fiscal Cliff เป็นคำอธิบายสถานการณ์ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ สูญเสียแรงขับเคลื่อนทางการคลังอย่างฉับพลันและรุนแรง เนื่องจากมาตรการด้านการคลังชั่วคราวที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในยามที่เกิดวิกฤตินั้นสิ้นสุดลง และรัฐบาลยังไม่มีมาตรการใหม่ๆ ออกมารองรับ จนเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงอีกครั้ง เมื่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จะหมดอายุลงพร้อมกันภายในสิ้นปี 2012 นี้
กล่าวง่ายๆ คือ เปรียบเสมือนกับการตัดลดงบประมาณแบบดิ่งหน้าผา เป็นมาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายและเตรียมขึ้นภาษีหลายรายการ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2013 หากสมาชิกสภานิติบัญญัติสหรัฐอเมริกาทั้งของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ถึงหนทางที่ดีที่สุด ในการลดงบประมาณขาดดุลและหนี้สาธารณะของประเทศ
หน้าผาทางการคลัง : มาตรการที่กำลังจะหมดอายุลงนั้น ประกอบไปด้วย
กล่าวง่ายๆ คือ เปรียบเสมือนกับการตัดลดงบประมาณแบบดิ่งหน้าผา เป็นมาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายและเตรียมขึ้นภาษีหลายรายการ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2013 หากสมาชิกสภานิติบัญญัติสหรัฐอเมริกาทั้งของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ถึงหนทางที่ดีที่สุด ในการลดงบประมาณขาดดุลและหนี้สาธารณะของประเทศ
หน้าผาทางการคลัง : มาตรการที่กำลังจะหมดอายุลงนั้น ประกอบไปด้วย
- การหมดอายุลงของมาตรการลดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีการลงทุน ภาษีคู่แต่งงาน ภาษีครอบครัวที่มีบุตร และภาษีมรดก ที่บังคับใช้ในยุครัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช นอกจากนี้ ยังมีชาวอเมริกันอีกราว 26 ล้านคนที่จะต้องเผชิญกับการคำนวณอัตราภาษีต่ำสุดแบบใหม่ที่จะทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 3,700 ล้านดอลลาร์ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของปีภาษีหน้า และซีบีโอประเมินว่างบประมาณขาดดุลที่จะลดได้จากรายการข้างต้นนี้จนถึงเดือนกันยายนอยู่ที่ 330,000 ล้านดอลลาร์
- การตัดลดงบประมาณรายจ่ายด้านกลาโหมในปีหน้าลง 9 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 55,000 ล้านดอลลาร์ และอีก 55,000 ล้านดอลลาร์จากโครงการภายในประเทศอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการตัดลดงบประมาณในส่วนของผู้ให้บริการในโครงการเมดิแคร์หรือประกันสังคมลง 2 เปอร์เซ็นต์
- การหมดอายุลงของเงินสวัสดิการช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีงานทำในระยะยาว ที่จะลดงบประมาณขาดดุลถึงเดือนกันยายนได้ 26,000 ล้านดอลลาร์
- การตัดลดเงินเบิกจ่ายสำหรับแพทย์ ที่เข้าร่วมในโครงการเมดิแคร์ลง คิดเป็น 11,000 ล้านดอลลาร์
- การหมดอายุของโครงการปรับลดอัตราภาษีที่หักจากเงินเดือนหรือค่าจ้างชั่วคราว 2 เปอร์เซ็นต์ของโอบามา คิดเป็น 95,000 ล้านดอลลาร์
- การหมดอายุของโครงการปรับลดอัตราภาษีที่หักจากเงินเดือนหรือค่าจ้างชั่วคราว 2 เปอร์เซ็นต์ของโอบามา คิดเป็น 95,000 ล้านดอลลาร์
- การตัดลดภาษีเล็กๆ น้อยๆ หลายรายการทั้งในภาคธุรกิจและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่รวมกันแล้วรู้จักกันในชื่อประมวลรัษฎากร "บทขยายเพิ่มเติม" ที่รวมถึงเงินลดหย่อนภาษีสำหรับการวิจัยและพัฒนา และการลดภาษีการขายในรัฐที่ไม่มีภาษีเงินได้ คิดเป็นเงินที่จะลดงบประมาณขาดดุลได้ 65,000 ล้านดอลลาร์
- ความจำเป็นในการที่จะต้องเพิ่มความสามารถในการกู้ยืมของรัฐบาล (หรือที่เรียกกันว่าเพดานหนี้) ที่ 16.4 ล้านล้านดอลลาร์ โดยคาดว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะมีหนี้สินแตะระดับดังกล่าวในช่วงสิ้นปีนี้ แต่กระทรวงการคลังมีอำนาจในการจัดสรร สับเปลี่ยน โยกย้ายบัญชีเพื่อซื้อเวลาเพิ่มเติมได้อีกหลายสัปดาห์ ดังนั้น สภาคองเกรสยังมีเวลาในการจัดการแก้ปัญหานี้จนถึงต้นปีหน้า (2013)
- ความจำเป็นในการที่จะต้องเพิ่มความสามารถในการกู้ยืมของรัฐบาล (หรือที่เรียกกันว่าเพดานหนี้) ที่ 16.4 ล้านล้านดอลลาร์ โดยคาดว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะมีหนี้สินแตะระดับดังกล่าวในช่วงสิ้นปีนี้ แต่กระทรวงการคลังมีอำนาจในการจัดสรร สับเปลี่ยน โยกย้ายบัญชีเพื่อซื้อเวลาเพิ่มเติมได้อีกหลายสัปดาห์ ดังนั้น สภาคองเกรสยังมีเวลาในการจัดการแก้ปัญหานี้จนถึงต้นปีหน้า (2013)
ผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างไร?
ไม่ว่าผลสุดท้ายแล้วสหรัฐฯ จะสามารถหลีกเลี่ยงการตกหน้าผาทางการคลังได้หรือไม่ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าลงในช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า 2013 เพราะหากพิจารณากรณีที่รัฐบาลสามารถขยายระยะเวลามาตรการลดภาษี หรือตัดค่าใช้จ่ายออกไปได้อีกครั้ง อาจจะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงได้ เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จะยังคงอยู่ในระดับสูงและไม่ได้ลดลง ซึ่งการลดอันดับความน่าเชื่อถืออาจทำให้เงินไหลออกจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ไปยังประเทศอื่นที่มีอันดับความน่าเชื่อถือดีกว่าได้ และนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง
ผลกระทบที่คาดว่าจะมีต่อประเทศไทย
- ในเบื้องต้นคาดว่าอาจมีผลทำให้การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ ชะลอตัวลง ดังนั้นผู้ประกอบการส่งออกของไทยควรเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
- ในขณะที่การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศไทย คาดว่าอาจจะมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดการเงินของไทยมากขึ้นทั้งในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตร ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และสุดท้ายอาจเป็นผลเสียต่อภาคการส่งออกของไทยได้
อย่างไรก็ตาม เราคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ว่า ในปี 2012-2013 สหรัฐฯ จะมีมาตรการใดๆ ออกมาแก้ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อทั้งการลงทุน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเช่นกัน
ระหว่างการรอลุ้นผลสรุปว่าสหรัฐฯ จะมีวิธีการจัดการกับหน้าผาทางการคลังนี้อย่างไร ตลาดการเงินอาจมีความผันผวนเป็นระยะจากความกังวล เช่นเดียวกับความกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตลาดการเงินโลกรวมถึงประเทศไทยผันผวนมากในช่วงครึ่งปีแรก และถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแรง หรือถดถอยจริงก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยผ่านการส่งออก ความเชื่อมั่นการบริโภค และการลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
************************
ภาวะหน้าผาทางการคลัง (Fiscal cliff) คือ การที่เศรษฐกิจของประเทศสูญเสียแรงขับเคลื่อนทางการคลังอย่างฉับพลันและรุนแรงเนื่องจากมาตรการด้านการคลังชั่วคราวที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในยามที่เกิดวิกฤตินั้นสิ้นสุดลง ยิ่งมาตรการนั้นๆ มีขนาดใหญ่มากเท่าไร เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของมาตรการจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจสูญเสียแรงส่งมากขึ้นเท่านั้น และนั่นหมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจถูกฉุดให้ ลดต่ำลงหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเศรษฐกิจถดถอยก็เป็นได้ ดังนั้นเหตุ การณ์เช่นนี้จึงเปรียบเสมือนกับว่าเศรษฐกิจ "ตกหน้าผาทางการคลัง".
*********************
TPP
ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) เป็นความตกลงการค้าเสรีกรอบพหุภาคีที่มีมาตรฐานสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้า บริการและการลงทุน การปฏิรูป การสร้างความสอดคล้องในกฎระเบียบทางเศรษฐกิจให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ ทรัพย์สินแห่งปัญญา มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมนั้น ประเทศสมาชิกประกอบด้วย ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และบรูไน หรือที่เรียกว่า The Pacific -4 (P4) ได้มีการลงนามความตกลง TPP ฉบับดั้งเดิม (The original agreement) เรียกว่า ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : Trans – Pacific SEP) ไปเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2005 โดยมีผลบังคับใช้ใอวันที่ 28 พฤษภาคม 2006 และต่อมา สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เปรู เวียดนาม และมาเลเซียได้เข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ซึ่งประเทศสมาชิก TPP ทั้ง 9 ประเทศต่างเป็นสมาชิก APEC ด้วย ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก TPP ยังไม่มีแนวโน้มที่จะรับสมาชิกใหม่จนกว่าการเจรจาจะเสร็จสิ้น
- ประเทศสมาชิกทั้ง 9 ประเทศได้อะไรจากการเข้าร่วม TPP ?
ก่อนที่จะมีความตกลง TPP นั้น กลุ่มประเทศที่ก่อตั้ง TPP (P4) ได้มีการจัดทำความตกลง Trans – Pacific SEP ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดเสรีการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือในการจัดทำยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และต่อมาสหรัฐฯ ออสเตรเลีย เปรู เวียดนาม และมาเลเซีย ได้เข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ซึ่งทั้ง 9 ประเทศต่างก็มีเหตุผลในการเข้าร่วม TPP ดังนี้
สิงคโปร์ มองว่า ความตกลง Trans – Pacific SEP ทำให้ผู้ส่งออกสิงคโปร์ส่งสินค้าไปยังชิลีได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ความตกลง Trans – Pacific SEP ยังมีข้อผูกพันทางการค้ามากกว่า FTA ที่สิงคโปร์ได้จัดทำกับนิวซีแลนด์ และบรูไน
นิวซีแลนด์ มองว่า ความตกลง Trans – Pacific SEP ทำให้ผู้ส่งออกนิวซีแลนด์ส่งสินค้าไปยังชิลีและบรูไนได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์นม ที่จะมีภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ
ชิลี มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุน รวมถึงเป็น Hub ของภูมิภาคละตินอเมริกา เพื่อให้บริษัทจากภูมิภาคเอเชียมาจัดตั้ง regional office ในชิลี
บรูไน มองว่า ความตกลง Trans – Pacific SEP นำไปสู่การเปิดตลาดในภาคการส่งออกและภาคบริการ รวมถึงการอำนวยความสะดวกทางการลงทุนของบรูไนกับประเทศในกลุ่ม P4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชิลีซึ่งเป็นประเทศที่บรูไนยังไม่มีการจัดทำ FTA ด้วย
สหรัฐฯ เห็นว่า TPP เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการว่างงานของประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการพ่ายแพ้การเลือกตั้งกลางเทอมของ Democrat ของประธานาธิบดีบารัก โอบามา นอกจากนี้ สหรัฐฯยังมองว่า FTA ทวีภาคีที่สหรัฐทำกับประเทศต่างๆจำนวน 17 ประเทศนั้น มีคุณภาพสู้ TPP ไม่ได้ โดยมีข้อจำกัดที่สินค้าบางสาขาได้รับการยกเล้นไม่เปิดเสรี
มาเลเซีย เนื่องจากการจัดทำ FTA กับสหรัฐฯที่มีการเจรจามาตั้งแต่ปี 2006 ยังไม่ได้ข้อสรุป ดังนั้นมาเลเซียเห็นว่า การเข้าร่วมการเจรจา TPP จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าการค้า และการเปิดตลาดกับสหรัฐ
เวียดนาม มองว่า การเข้าร่วม TPP สามารถดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดของประเทศในกลุ่ม TPP ในอัตราภาษีที่ลดลง
เปรู มองว่า การเข้าร่วมการเจรจา TPP จะนำไปสู่การขยายตลาดด้านการค้าและการลงทุนฝในภูภาคเอเชีย เพิ่มมากขึ้น โดยที่นโยบายด้านต่างประเทศของเปรูนั้น ได้ให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียเพิ่มมากขึ้น
ออสเตรเลีย มองว่า การเข้าร่วม TPP ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญของรัฐบาลนาย Kevin Rudd ที่ต้องการให้เกิดการบูรณาการด้านเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งจะทำให้ออสเตรเลียไม่ถูกโดดเดี่ยวจากการรวมกลุ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งการเข้าร่วมการเจรจา TPP ของออสเตรเลียก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการศึกษา ภาคแรงงาน ประชาคมต่างๆและหน่วยงานภาครัฐ
เปรู มองว่า การเข้าร่วมการเจรจา TPP จะนำไปสู่การขยายตลาดด้านการค้าและการลงทุนฝในภูภาคเอเชีย เพิ่มมากขึ้น โดยที่นโยบายด้านต่างประเทศของเปรูนั้น ได้ให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียเพิ่มมากขึ้น
ออสเตรเลีย มองว่า การเข้าร่วม TPP ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญของรัฐบาลนาย Kevin Rudd ที่ต้องการให้เกิดการบูรณาการด้านเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งจะทำให้ออสเตรเลียไม่ถูกโดดเดี่ยวจากการรวมกลุ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งการเข้าร่วมการเจรจา TPP ของออสเตรเลียก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคการศึกษา ภาคแรงงาน ประชาคมต่างๆและหน่วยงานภาครัฐ
อย่างไรก็ดี นอกจากสมาชิกทั้ง 9 ประเทศข้างต้น ยังมีประเทศสมาชิก APEC อื่นๆที่กำลังสนใจเข้าร่วมการเจรจา TPP เพิ่มเติม ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย แต่ก็มีปัญหาและอุปสรรคต่างๆดังนี้
1) ญี่ปุ่น จะต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างด้านการเกษตร และได้รับฉันทามติภายในประเทศก่อน นอกจากนี้เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบร้อยกว่าปีของญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาน่าจะทำให้กรเข้าร่วมการเจรจา TPP ของญี่ปุ่นต้องชะลอออกไป
2) แคนาดา ยังมีประเด็นที่เป็นปัญหากับประเทศสมาชิก TPP ได้แก่ นิวซีแลนด์เกี่ยวกับการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของแคนาดา ในสาขาผลิตภัณฑ์นม และสัตว์ปีก และสหรัฐฯเกี่ยวกับเรื่องทรัยพ์สินทางปัญญา ซึ่งแคนาดาถูกจัดอันดับให้เป็น Priority Watch List ในรายงาน Special 301 ของสหรัฐ
3) เกาหลีใต้ ต้องรอให้การเจรจา FTA กับสหรัฐฯผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จึงจะสามารถเจรจา TPP ได้
4) อินโดนีเซีย รอดูแนวโน้มการเจรจารอบโดฮาก่อนการตัดสินใจ
- สถานะ แนวโน้ม ปัญหา/อุปสรรคของการเจรจา
ปัจจุบัน ได้มีการเจรจาความตกลง TPP ไปแล้ว 7 รอบ โดยรอบแรกได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2010 ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งครั้งล่าสุดในรอบที่ 7 เมื่อเดือนมิถุนายยน 2011 ณ ประเทศเวียดนาม การเจรจามีความคืบหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการจัดทำ legal text ที่ครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าร่วมกัน การทบทวนข้อเสนอใหม่ๆที่สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอื่นๆเสนอ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความโปร่งใส โทรคมนาคม ศุลกากร สิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงประเด็นการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดเฉพาะสินค้า รวมถึงได้มีการหารือเกี่ยวประเด็นที่มีความคาบเกี่ยวกัน (cross cutting issues) ประเด็นความสอดคล้องทางกฎระเบียบ (regulatory coherence) และการหาแนวทางในการลดช่องว่างของการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก TPP หลังจากนั้น จะมีการเจรจาร่วมกันอีก 2 รอบ คือ เดือนกันยายน 2011 ณ ประเทศสหรัฐฯ และเดือนตุลาคม 2011 ณ ประเทศเปรู ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกมีเป้าหมายที่จะสรุปผลการเจรจาเกี่ยวกับสาระสำคัญในด้านต่างๆ(substantive negotiations) ได้แก่ รูปแบบการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาด กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนด้านการลงทุน รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา ฝห้สำเร็จก่อนการประชุมเอเปค ในเดือนพฤศจิกายน 2011 ณ ประเทศสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี การเจรจาในรอบต่างๆที่ผ่านมายังมีประเด็นที่ไม่สามารถตกลงหรือหาข้อสรุปร่วมกันได้ คือ 1) รูปแบบการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดสินค้า สหรัฐฯสนับสนุนรูปแบบการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดในแบบทวิภาคีกับประเทศสหรัฐฯยังไม่ได้มีความตกลง FTA ด้วย ขณะที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์สนับสนุนการเจรจาการจัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดเดียว (Single Market Access) 2) การลงทุน สหรัฐฯสนับสนุนการใช้กลไกระงับข้อพิพาทระหว่างภาครัฐและเอกชน ขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่เห็นด้วย 3) เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา สหรัฐฯต้องการผลักดันข้อบทเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้มีความเข้มข้นมากกว่าความตกลง TRIPs ภายใต้ WTO ขณะที่นิวซีแลนด์ไม่เห็นด้วย ดังนั้น การเจรจาความตกลง TPP อาจไม่สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายก่อนการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2011 ตามที่ประเทศสมาชิกกำหนดไว้ หรือถ้าหากการเจรจาสามารถสรุปผลได้ทัน สหรัฐฯก็จะต้องนำผลการเจรจาดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อขอรับความเห็นชอบ ซึ่งในชั้นนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐสภาของสหรัฐฯจะพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่
- TPP จะมีผลกระทบอย่างไรต่อ ASEAN
TPP ถือได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่นอกเหนือไปจาก ASEAN+3 หรือ ASEAN +6 โดยมีข้อเสนอให้นำความตกลง TPP ไปเป็นรูปแบบสำหรับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีเอเชียและแปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia Pacific: FTAAP) ในอนาคต ซึ่งหากการเจรจา TPP ประสบความสำเร็จอาจจะมีผลทำให้แผนงานต่างๆของ ASEAN ถูกลดความสำคัญลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหารจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เนื่องจากความตกลง TPP มีสมาชิก ASEAN จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นสมาชิก รวมถึงอิโดนีเซียและฟิลิปปินส์ก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ประเทศสมาชิก ASEAN จะให้ความสำคัญกับ ASEAN น้อยลก ซึ่งมีผลทำให้บทบาทความเป็นแกนกลางของ ASEAN (ASEAN Centrality) ในภูมิภาคต้องสูญเสียไป รวมถึงความร่วมมือในกรอบต่างๆที่มี ASEAN เป็นแกนกลาง ได้แก่ ASEAN-CER, ASEAN+3, ASEAN+6 การจัดตั้งประชาคมตะวันออก (East Asian Community : EAC) ไปจนถึงแนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีตะวันออก (East Asia Free Trade Area: EAFTA) ก็ถูกลดบทบาทลงไปด้วย เนื่องจากความตกลง TPP มีประเทศคู่เจรจาของ ASEAN คือ ออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์เป็นสมาชิก รวมถึงญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ก็ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ในอนาคต นอกจากนั้น TPP สามารถที่จะนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชียและแปซิฟิก (ASIA-Pacific Community – APC) ที่เสนอโดยอดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Mr.Kevin Rudd ซึ่ง APC จะทำให้บทบาทและความเป็นกลางทางสถาปัตยกรรมภูมิภาค (Regional Architecture) ของ ASEAN ต้องสูญเสียไป โดยเฉพาอย่างยิ่ง TPP จะมีผู้เล่นที่มีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศสูงอย่าง สหรัฐฯ เข้ามาเป็นแกนกลาง และสามารถกำหนด agenda ต่างๆที่เกิดประโยชน์ต่อสหรัฐฯแต่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อ ASEAN
- TPP เครื่องมือและกลไกกาค้าเสรียุคใหม่ของสหรัฐฯ
ที่ผ่านมาสหรัฐฯให้การสนับสนุนการเจรจา TPP เป็นอย่างมาก โดยฝ่ายบริหารพยายามที่จะผบักดันการเจรจา TPP ให้สำเร็จโดยเร็ว ซึ่งจะมีผลต่อความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ การถ่วงดุลอำนาจจัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น และการเพิ่มบทบาทของการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมทางภูมิภาค (Regional Architecture) ของเอเชียในกรอบต่างๆ เช่น ASEAN+3 ASEAN+6 รวมถึงการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (EAC) จะไม่มีสหรัฐฯเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งแน่นอนว่าสหรัฐฯจะต้องพยายามหากลไก หรือแนวทางเพื่อให้ตนเองกลับเข้ามามีบทบาทในการดำเนินความสัมพันธ์ และแผ่ขยายอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียได้ต่อไปในระยะยาว ซึ่งก็คือ ความตกลง TPP
ทั้งนี้ แม้ว่าสหรัฐฯจะมีการทำ FTA ทวิภาคีกับประเทศต่างๆถึง 17 ประเทศ แต่ว่าคุณภาพของ FTA ทวิภาคีที่ทำกับประเทศต่างๆไม่สามารถสู้ TPP ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาถึงเรื่องผลประโยชน์ของสหรัฐฯที่ต้องการเปิดเสรีในสาขาต่างๆให้มากที่สุด ซึ่ง FTA ทวิภาคีมีข้อจำกัดที่บางสาขาได้รับการยกเว้นไม่เปิดเสรี ซึ่งก็ต้องดูต่อไปว่าสหรัฐฯจะสามารถผลักดัน TPP ให้เป็น FTA ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หรือกลายเป็น FTA ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคตได้หรือไม่
ทั้งนี้ แม้ว่าสหรัฐฯจะมีการทำ FTA ทวิภาคีกับประเทศต่างๆถึง 17 ประเทศ แต่ว่าคุณภาพของ FTA ทวิภาคีที่ทำกับประเทศต่างๆไม่สามารถสู้ TPP ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาถึงเรื่องผลประโยชน์ของสหรัฐฯที่ต้องการเปิดเสรีในสาขาต่างๆให้มากที่สุด ซึ่ง FTA ทวิภาคีมีข้อจำกัดที่บางสาขาได้รับการยกเว้นไม่เปิดเสรี ซึ่งก็ต้องดูต่อไปว่าสหรัฐฯจะสามารถผลักดัน TPP ให้เป็น FTA ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หรือกลายเป็น FTA ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคตได้หรือไม่
- ท่าทีของไทยต่อ TPP
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ควรที่จะให้ความสำคัญกับประเทศ ASEA ก่อนเป็นอันดับแรก โดยที่ความร่วมมือต่างๆในกรอบ ASEN นั้น ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักด้านการต่างประเทศของไทย ซึ่งในขณะนี้ ไทยยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP โดยมีเหตุผล และประเด็นในการพิจารณา ดังนี้
1. ความสัมพันธ์กับจีน ที่ผ่านมาจีนมีความร่วมมือ รวมถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับไทยในด้านต่างๆทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ และความสัมพันธ์โดยทั่วๆไปมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน จีนได้แซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นแท่นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองขากสหรัฐฯ และมีอิทธิพลด้านเศรษฐกิจและการเมืองเพิ่มขึ้น (The Rise of China) เป็นอย่างมากในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ความตกลง TPP นั้นเป็นความตกลงที่มีนัยยะทางการเมืองระหว่างประเทศ (International Political Implication) ซึ่งสหรัฐฯใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางหนึ่งในหารถ่วงดุลอำนาจจีนในภูภาค รวมถึงทำให้สหรัญฯสามารถกลับเข้ามามีบทบาท และแผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียได้ต่อไปในระยะยาว ดังนั้น การเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ของไทยอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับจีน
1. ความสัมพันธ์กับจีน ที่ผ่านมาจีนมีความร่วมมือ รวมถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับไทยในด้านต่างๆทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ และความสัมพันธ์โดยทั่วๆไปมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน จีนได้แซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นแท่นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองขากสหรัฐฯ และมีอิทธิพลด้านเศรษฐกิจและการเมืองเพิ่มขึ้น (The Rise of China) เป็นอย่างมากในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ความตกลง TPP นั้นเป็นความตกลงที่มีนัยยะทางการเมืองระหว่างประเทศ (International Political Implication) ซึ่งสหรัฐฯใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางหนึ่งในหารถ่วงดุลอำนาจจีนในภูภาค รวมถึงทำให้สหรัญฯสามารถกลับเข้ามามีบทบาท และแผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียได้ต่อไปในระยะยาว ดังนั้น การเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ของไทยอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับจีน
2. TPP เป็นความตกลงที่มีมาตรฐานสูง จะเห็นได้ว่า TPP เป็นความตกลงทางการค้ารูปแบบใหม่ที่มีมาตรฐานสูง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ในด้านต่างๆเช่น การเปิดเสรีทางการค้าบริการ และการลงทุน การปฏิรูปและสร้างความสอดคล้องในกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ การจัดซื้อโดยรัฐ (Government Procurement) ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property : IP) มาตรฐานด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเสรีในภาคบริการ และการลงทุนที่ไทยจะเสียเปรียบประเทศสมาชิก TPP เช่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เป็นต้น
3. การดำเนินการตามขั้นตอนในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 จะต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบ/ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ การทำประชาพิจารณ์ รวมถึงต้องมีการเสนอกรอบการเจรจาให้รัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบก่อน
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรที่จะมีการจัดทำการศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากไทยเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP การเตรียมท่าทีของฝ่ายไทย หากเข้าร่วมการเจรจา รวมถึงมาตรการเยียวยาผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับภาครัฐและเอกชนหากไทยต้องการเข้าร่วมการเจรจาความตกลง TPP ในอนาคต
ที่มา : ชาญชัย โฉลกคงถาวร, สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ
วารสารเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปีที่ 7 ฉบับที่ 26 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554
***************************